นาฏศิลป์อินเดีย



นาฏศิลป์อินเดีย

เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ โดยสตรีฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี” ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม ดนตรี การขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนางอัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์  ท่ารำมีทั้งหมด 108 ท่า
การแสดง ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรี เนื้อหาสาระของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้นเวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการเต้น และการ่ายรำ
ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง ในวงดนตรีจะมีผู้ขับร้อง 2 คน คนหนึ่งจะตีฉิ่ง คอยให้จังหวะแก่ผู้เต้น อีกคนจะเป็นผู้ขับร้องและตีกลอง ส่วนเครื่องดีด และเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เป็นเพียงส่วนประกอบให้เกิดความไพเราะเท่านั้น
เครื่องแต่งกาย ในสมัยโบราณ ไม่สวมเสื้อ สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน ปละเครื่องประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรีที่เป็นชุดประจำชาติของอินเดีย

ความคิดเห็น